อยากจำนำโฉนดที่ดินเตรียมตัวอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ

ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้หลายครอบครัวกำลังประสบปัญหาการเงินติดขัด นอกจากวางแผนการใช้จ่ายที่ประหยัดแล้ว การมีแนวทางหาเงินก้อนก็เป็นอีกตัวเลือกที่ช่วยเสริมความสบายใจได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีโฉนดที่ดินไว้ในครอบครอง ก็สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินก้อน เพื่อนำไปใช้จ่ายและเสริมสภาพคล่องทางการเงินได้ แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจเรื่องการขอสินเชื่อโฉนดที่ดิน วันนี้จะขอพาไปทำความเข้าใจว่าจำนำโฉนดที่ดินคืออะไร พร้อมการเตรียมตัวก่อนจำนำโฉนดที่ดินหากรู้ไว้แล้วจะกู้ได้ง่ายกว่าเดิม

โฉนดที่ดินสำหรับการจำนำโฉนดที่ดิน

ทำความรู้จักเอกสารสำคัญ “โฉนดที่ดิน”

ที่ดิน เป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่งที่มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินก้อนได้ที่สถาบันการเงิน ผ่านบริการจำนำโฉนดที่ดินและรับจำนองโฉนดที่ดิน ซึ่งก่อนที่จะเข้ารับบริการได้นั้น จำเป็นต้องมีโฉนดที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมายก่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในเอกสาร สิทธิ์รับรองการทำประโยชน์ในที่ดินที่สามารถซื้อ ขาย โอน และทำนิติกรรมได้ตามกฎหมาย ซึ่งมักจะมีตราครุฑสีแดงในใบโฉนด หรือเรียกกันอีกชื่อว่า น.ส.4 ประกอบอยู่ด้วย
ดังนั้น สำหรับผู้ครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย จะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินของตน ทั้งต่อรัฐและในระหว่างเอกชนด้วยกัน รวมถึงเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันให้กับสถาบันการเงินได้

การจำนำโฉนดที่ดิน

การจำนำโฉนดที่ดิน หรือการจำนำที่ดิน คือการนำโฉนดที่ดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ซึ่งลูกหนี้ปลอดภาระจำนองแล้ว มาวางสำหรับเป็นเอกสารค้ำประกันการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน โดยไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน และกรรมสิทธิ์ยังอยู่กับเจ้าของเช่นเดิม ทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินผืนนี้ได้ เป็นรูปแบบขอสินเชื่อที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินด่วน ต้องการใช้วงเงินไม่สูงนัก และรอเวลาอนุมัติสินเชื่อไม่นาน

หากเกิดกรณีผิดนัดชำระ บริษัทผู้ให้สินเชื่อจะสามารถอ้างสิทธิ์นั้น และต้องดำเนินคดีฟ้องร้องตามกฎหมายเท่านั้น

ตัวอย่างการจำนำโฉนดที่ดิน : นายแดงได้ทำการกู้เงินนายดำ จำนวนหนึ่งแสนบาท โดยที่นายแดงได้นำโฉนดที่ดินของตนไปเป็นสิ่งค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวนหนึ่งแสนบาท โดยที่นายแดงยังคงมีสิทธิ์ครอบครองและใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติ

สรุปข้อควรรู้ก่อนจำนำโฉนดที่ดิน

  • ผู้จำนำโฉนดที่ดินจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จะจำนำ
  • ผู้ที่จำนำไม่จำเป็นต้องไปจดจำนองที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน
  • ผู้จำนำยังมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินนั้นเหมือนเดิม
  • ผู้จำนำสามารถไถ่ถอนที่ดินคืนได้เมื่อชำระหนี้หมด
  • ผู้ที่จำนำสามารถนำเอาโฉนดตัวจริงมาวางเป็นหลักประกันหลังทำสัญญา แล้วจะได้เงินกลับไปบ้านทันที
เช็คให้ดีก่อนจำนำโฉนดที่ดิน

เช็กให้ดีก่อนจำนำโฉนดที่ดิน

  • อ่านเงื่อนไขสินเชื่อสำหรับการจำนำโฉนดที่ดินให้ครบถ้วน : การจำนำโฉนดที่ดินกับสถาบันการเงินแต่ละที่ ควรอ่านเงื่อนไข และทำความเข้าใจให้ดีก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเอกสารสัญญา ค่าธรรมเนียมหรือส่วนวงเงินกู้ เป็นต้น เป็นส่วนสำคัญที่ต้องระวังให้ดีก่อนดำเนินการทำสัญญา
  • การจำนำโฉนดที่ดินไม่ต้องไปกรมที่ดิน : สำหรับขั้นตอนในการทำสัญญาจำนำที่ดิน เราสามารถเลือกสถาบันการเงินที่ดำเนินการได้โดยไม่ต้องไปกรมที่ดิน จึงช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
  • เลือกสถาบันการเงินที่มีดอกเบี้ยเป็นธรรม : อัตราดอกเบี้ยเป็นส่วนสำคัญที่ควรใส่ใจ ขอแนะนำให้เลือกที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยยิ่งน้อยยิ่งดี หรือมีอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมแก่ผู้กู้
  • เลือกสถาบันการเงินที่อนุมัติสินเชื่อรวดเร็วและเชื่อถือได้ : สำหรับคนที่มีปัญหาการเงิน การเลือกสถาบันที่สามารถดำเนินการเอกสารและให้อนุมัติเร็ว เป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์ที่นำมาตัดสินใจได้ รวมถึงต้องเป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • จัดเตรียมเอกสารให้พร้อม : บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดินที่ปลอดภาระแล้ว และเอกสารอื่น ๆ เช่น สมุดบัญชีธนาคาร ใบประเมิน หรือใบระวาง เป็นต้น

สำหรับคนที่สนใจบริการสินเชื่อจำนำโฉนดที่ดิน ที่ สบาย ลีสซิ่ง เราพร้อมให้บริการสินเชื่อโฉนดที่ดิน กู้ง่าย อนุมัติไว ให้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ ได้เงินก้อนด่วนทันใจ และสามารถเลือกผ่อนได้สูงถึง 60 งวด ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการผ่อนต่อเดือนที่น้อยลง นำเงินก้อนไปหมุน เสริมสภาพคล่องทางการเงินได้มากขึ้น สามารถสอบถามเพิ่มเติม โทร. 055-000-600

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save