คำแนะนำการบินโดรนเกษตรในหน้าฝน-และมาตรฐานระดับการกันฝุ่นและน้ำ-(IP-code)-ที่ควรรู้

คำแนะนำการบินโดรนเกษตรในหน้าฝน และมาตรฐานระดับการกันฝุ่นและน้ำ (IP code) ที่ควรรู้

ผู้ใช้โดรนเกษตรสามารถบินหว่านปุ๋ยหรือฉีดพ่นสารเคมีขณะมีฝนตกได้หรือไม่? ตัวอุปกรณ์กันฝนกันน้ำได้ดีแค่ไหน ในบทความนี้ชวนมารู้จักกับมาตรฐานระดับกันฝุ่นและน้ำ หรือ IP code ที่แบรนด์ผู้ผลิตได้ระบุไว้ในคุณสมบัติของโดรนแต่ละรุ่น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถของอุปกรณ์ภายในตัวโดรนว่าสามารถกันฝุ่นและน้ำได้ดีเพียงใด

มาตรฐานระดับการกันฝุ่นและน้ำ หรือ IP code คืออะไร?

     เนื่องจากฝุ่นและของเหลวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขัดข้อง องค์กร IEC (International Electrotechnical Commission) จึงได้จัดระดับของ การกันฝุ่นและน้ำเข้า Ingress Protection (IP) ด้วยการใช้อักษร IP แล้วตามด้วยตัวเลข 2 ตัว โดย เลขตัวที่หนึ่ง คือ ระดับการป้องกันอนุภาคของแข็ง (ฝุ่น) และเลขตัวที่สอง คือ ระดับการป้องกันของเหลว เช่น IP54 IP67 เป็นต้น รายละเอียดดังนี้

เลขตัวที่ 1
ระดับการป้องกันอนุภาคของแข็ง (ฝุ่น)
เลขตัวที่ 2
ระดับการป้องกันของเหลว
0 ป้องกันไม่ได้ - แทนด้วยตัวอักษร X 0 ป้องกันไม่ได้ - แทนด้วยตัวอักษร X
1 ป้องกันอนุภาคของแข็ง ขนาด 50 มม. ขึ้นไปได้ 1 ป้องกันหยดน้ำในแนวตั้งได้
2 ป้องกันอนุภาคของแข็ง ขนาด 12.5 มม. ขึ้นไปได้ 2 ป้องกันหยดน้ำที่ทำมุม 15 องศาในแนวตั้งได้
3 ป้องกันอนุภาคของแข็ง ขนาด 2.5 มม. ขึ้นไปได้ 3 ป้องกันละอองน้ำได้
4 ป้องกันอนุภาคของแข็ง ขนาด 1 มม. ขึ้นไปได้ 4 ป้องกันน้ำกระเซ็นได้
5 ป้องกันฝุ่นส่วนใหญ่ได้ 5 ป้องกันน้ำแรงดันสูง (Water Jet) ได้
6 ป้องกันฝุ่นได้อย่างสมบูรณ์ 6 ป้องกันน้ำแรงดันสูงมาก (Powerful Water Jet) ได้
7 แช่น้ำได้ชั่วครู่ (ตามมาตรฐานทดสอบคือ 30 นาที)
8 แช่น้ำได้นานต่อเนื่อง (มากกว่า 30 นาที ขึ้นอยู่กับผู้ทดสอบ)
9 ป้องกันน้ำแรงดันสูงที่มีอุณหภูมิสูง (High Temperature Water Jet) ได้
สามารถบินโดรนเกษตรขณะมีฝนตกได้หรือไม่-และมีข้อควรปฏิบัติอย่างไร

สามารถบินโดรนเกษตรขณะมีฝนตกได้หรือไม่ และมีข้อควรปฏิบัติอย่างไร?

     ผู้ผลิตโดรนได้ระบุว่าชิ้นส่วนใดบ้างที่มีระดับการกันฝุ่นและน้ำ เช่น IP67 สำหรับชิ้นส่วนเรดาร์ และ IP54 สำหรับชุดแบตเตอรี่ อย่างไรก็ดีความสามารถในการป้องกันอาจลดลงได้ ขึ้นอยู่กับอายุอุปกรณ์การใช้งานอย่างต่อเนื่อง และยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมอื่นๆ ดังนี้

  1. สภาพแวดล้อมขณะฝนตก ขณะที่ฝนตกไม่ใช่มีเพียงน้ำฝนและความชื้นเท่านั้นที่น่ากังวล แต่อาจมีลมแรง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับผู้บินโดรนอย่างมาก รวมถึงทำให้การหว่านปุ๋ยและการพ่นสารเคมีมีประสิทธิภาพลดลงและไม่ได้ผล
  2. อุปกรณ์บางชิ้นไม่กันน้ำ เพื่อความปลอดภัยของโดรน ไม่แนะนำให้ทำการบินระหว่างฝนตก เพราะปริมาณ ทิศทางน้ำฝน และความชื้น เป็นสิ่งที่คาดเดาและควบคุมไม่ได้ สิ่งเหล่านี้อาจเข้าไปยังชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่ไม่กันน้ำ เกิดความเสียหายและทำงานผิดปกติได้
  3. รีบทำให้โดรนแห้งอย่างเร็วที่สุด หากฝนตกลงมาอย่างไม่คาดคิด ให้รีบนำโดรนลงมา เก็บเข้าที่ร่ม ถอดชุดแบตเตอรี่ออกและรีบเช็ดโดรนและชิ้นส่วนต่างๆ ให้แห้งโดยอย่างเร็วที่สุด อย่าเพิ่งใส่แบตเตอรี่กลับไปที่ตัวอุปกรณ์จนกว่าจะแน่ใจว่าโดรนแห้งสนิทแล้ว เพื่อป้องกันความเสียที่เกิดจากระบบไฟลัดวงจร
  4. ตรวจดูสภาพอากาศก่อนทำการบิน สามารถตรวจสอบสภาพอากาศด้วย แอปมือถือตรวจสอบสภาพอากาศ เพื่อให้ผู้บินได้เตรียมตัววางแผนการทำงานได้ดีขึ้น และช่วยลดโอกาสที่โดรนจะได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศในหน้างาน
     พิจารณาแล้วดูเหมือนมีความเสี่ยงมากกว่าความคุ้มค่าที่โดรนจะได้รับความเสียหาย หากฝืนบินจนงานเสร็จ ทั้งจากฝนตก ทัศนวิสัยที่ไม่ดีถ้าหมอกลงหนา หรืออย่างแย่ที่สุดคืออาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า ขอให้คำแนะนำข้างต้นเป็นแนวทางสำหรับเกษตรกรที่ใช้โดรนเป็นเครื่องมือในงานเกษตรกรรม ทางสบาย ลีสซิ่ง พร้อมให้บริการสินเชื่อโดรนเกษตร พร้อมเงื่อนไขที่ให้ท่านเป็นเจ้าของได้ หากสนใจเข้ามาปรึกษาเราได้ทุกสาขา หรือโทร 055-000-600 หรือติดต่อทาง LINE Official @sabuyleasing เพราะทุกความสบายใจเป็นไปได้ที่ สบาย ลีสซิ่ง